วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ทุกข์ของชาวนา

ประวัติผู้แต่ง

        สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีทรงประกอบพระราชกรณียกิจหลายประการ เช่น ด้านดนตรีไทย ทรงพระปรีชาสามารถในการขับร้องเพลงและทรงบรรเลงดนตรีไทยได้หลายประเภท ด้านภาษาและวรรณคดี ทรงพระราชนิพนธ์ที่รู้จักกันแพร่พลาย ได้แก่ ย่ำแดนมังกร ผีเสื้อแก้วจอมแก่น แก้วจอมซน ดั่งดวงแก้ว เป็นต้น ทั้งนี้ในงานพระราชนิพนธ์แต่ละเรื่อง พระองค์จะทรงใช้พระนามแฝงที่แตกต่างกันไป เช่น ก้อนหิน แว่นแก้ว หนูน้อย เป็นต้น
       นอกจากนี้ยังทรงประกอบพระราชกรณียกิจในด้านการศึกษา การพัฒนาสังคม โดยมีโครงการในพระราชดำริส่วนพระองค์หลายโครงการโดยมุ่งเน้นทางด้านการแก้ปัญหาการขาดสารอาหารของเด็กในท้องถิ่นทุรกันดารและพัฒนามาสู่การให้ความสำคัญทาง
ด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาบุคคลอย่างสมบูรณ์


ความเป็นมา


บทความเรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี มีที่มาจากหนังสือรวมบทพระราชนิพนธ์ใน
สมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯสยามราชกุมารี เรื่อง มณีพลอยร้อยแสง ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๓ ในวโรกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมายุ
ครบ ๓ รอบ โดยนิสิต คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาราชวิทยาลัย รุ่นที่ ๔๑
หนังสือรวมบทพระราชนิพนธ์เรื่อง มณีพลอยร้อยแสง แบ่งเนื้อหาออกเป็น ๑๑ หมวดด้วยกัน คือ กลั่นแสงกรองกานท์, เสียงพิณเสียงเลื่อน เสียงเอื้อนเสียงขับ, เรียงร้อยถ้อยดนตรี, ชวนคิดพิจิตรภาษา, นานาโวหาร, คำขานไพรัช, สมบัติภูมิปัญญา,            ธาราความคิด, นิทิศบรรณา,สาราจากใจ และมาลัยปกิณกะ

ลักษณะคำประพันธ์


          ทุกข์ของชาวนาในบทกวี เป็น บทความแสดงความคิดเห็นซึ่งเป็นบทความที่มีจุดมุ่งหมายที่แสดงความคิดเห็นต่อประเด็นใดประเด็นหนึ่ง ความคิดเห็นที่นำเสนอได้มาจากการวิเคราะห์ การใช้วิจารณญาณไตร่ตรองของผู้เขียน โดยผ่านการสำรวจปัญหา ที่มาขอเรื่อง และข้อมูลต่างๆ อย่างละเอียดความคิดเห็นที่เสนออาจเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาตามทัศนะของผู้เขียนหรือการโต้แย้งความคิดเห็นของผู้อื่นที่มีมาก่อน
       อย่างไรก็ตาม บทความแสดงความคิดเห็นที่ดีควรเสนอทัศนะใหม่ที่ยังไม่เคยมีใครคิดหรือเสนอทัศนะที่มีเหตุผลเป็นการสร้างสรรค์ ไม่ใช่การบ่อนทำลาย ความน่าเชื่อถือของความคิดเห็นที่นำเสนอนั้นขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์ปัญหา การใช้ปัญญาไตร่ตรองโดยปราศจากอคติ และการแสดงถึงเจตนาดีของผู้เขียนที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม